บทความ

  • เตรียมพบกับหนังสือเรียนวิทย์ ม.ปลาย ซีรี่ส์ใหม่ได้เร็ว ๆ นี้ !!!

  • กล้องโทรทรรศน์

        เรื่องราวของกล้องโทรทรรศน์เริ่มต้นจากช่างทำแว่นตาชาวดัตช์ ชื่อ ฮันซ์ ลิเปอร์ฮาย (Hans Lippershy) หรือที่รู้จักกันในนาม ฮานส์ ลิพเพอร์ซี โดยในวันหนึ่งเขาได้สังเกตเด็กสองคนในร้านของเขาหยิบเลนส์สองชิ้นขึ้นมาอยู่ในแนวเดียวกันทำให้เขาสังเกตเห็นวัตถุใกล้เข้ามา  เมื่อเห็นดังนั้นเขาจึงได้ลองนำเลนส์สองชิ้นมาติดบนปลายท่อทั้งสองด้านเมื่อมองผ่านเข้าไปในท่อจะทำให้มองเห็นสิ่งของที่อยู่ไกลได้ราวกับสิ่งของนั้นเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ เขาจึงตั้งชื่อสิ่งประดิษฐ์นี้ว่า กล้องโทรทรรศน์ (Telescope)

ดาวหางแพนสตาร์ส (C/2011 L4)

เขียนโดย earthscience เมื่อ . หัวข้อ ดาราศาสตร์, บทความ

ผู้เขียน: นิพนธ์ ทรายเพชร 

บทคัดย่อ

ดาวหางแพนสตาร์ส มีชื่อตามกล้องโทรทรรศน์ที่บันทึกภาพดาวหางดวงนี้ได้เป็นครั้งแรกเมื่อ 6 มิถุนายน 2554 คําเต็มของ Pan-STARRS คือ Panoramic Survey Telescope And Rapid Response System ซึ่งเป็นโครงการสํารวจท้องฟ้าโดยมีเป้าหมายหลักในการค้นหาดาวเคราะห์น้อยและดาวหางที่อาจเป็นภัยคุกคามโลก กล้องดังกล่าวตั้งอยู่ที่ยอดเขาฮาเลอาคาลา (Haleakala) ในหมู่เกะฮาวายของสหรัฐอเมริกา


C/2011 L4 เป็นชื่อดาวหางตามวิธีตั้งชื่อดาวหางของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ซึ่งบอกให้ทราบว่าเป็นดาวหางคาบยาว (C/) ที่ค้นพบในปี  ค.ศ. 2011 ในช่วงครึ่ งแรกของเดือนมิถุนายน (L) เป็นดวงที่ 4 ขณะค้นพบดาวหางอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 7.9 หน่วยดาราศาสตร์ (ประมาณระยะดาวเสาร์)  มีโชติมาตร 19.4 ซึ่งริบหรี่มาก ไม่อาจตรวจพบได้ในกล้องขนาดเล็ก ผลการคํานวณล่าสุดพบว่าดาวหางมีทางโคจรเป็นรูปไฮเพอร์โบลามีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในระยะ 0.3 หน่วยดาราศาสตร์  (ประมาณระยะดาวพุธ)  ในวันที่  10  มีนาคม  2556  และใกล้โลกที่สุดในวันที่  5  มีนาคม  2556 ที่ระยะ  1.1 หน่วยดาราศาสตร์ โดยระนาบวงโคจรของดาวหางเอียงทํามุม 84 องศากับระนาบทางโคจรของโลก

"เวลาหัวคํ่าของวันที่  9-17 มีนาคม 2556 น่าจะเป็นช่วงที่สังเกตดาวหางดวงนี้ได้ดีที่สุดสําหรับประเทศไทย เนื่องจากคาดว่าจะเป็นช่วงที่ดาวหางสว่างที่สุด และตกลับขอบฟ้าช้าที่สุด อย่างไรก็ตาม การสังเกตส่วนหัวของดาวหางแพนสตาร์สอาจยากสําหรับประเทศไทย  เพราะดาวหางปรากฏให้เห็นได้เฉพาะในเวลาที่มีแสงสนธยา ท้องฟ้าไม่มืดสนิท และดาวหางอยู่ใกล้เส้นขอบฟ้าในกลุ่มดาวปลา ถึงกระนั้นเราอาจสังเกตเห็นส่วนหางที่ทอดยาวขึ้นมาเหนือขอบฟ้าได้" (1)

ช่วงสว่างที่สุดดาวหางแพนสตาร์สอาจมีโชติมาตร -1 สว่างกว่าดาวอังคาร (โชติมาตร 1)  ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน การสังเกตทําได้ตั้งแต่เวลาหลังดวงอาทิตย์ตก (ภาคกลางของประเทศไทยดวงอาทิตย์ตกประมาณ 18.30 น.) โดยยืนหันหน้าไปทางทิศตะวันตก  เลือกขอบฟ้าตะวันตกที่โล่งไม่มีตึกหรือต้นไม้บัง  ไม่มีแสงไฟฟ้ารบกวน  อาจสังเกตจากอาคารสูง ถ้าท้องฟ้าแจ่มใสไม่มีเมฆบังจะมีโอกาสเห็นดาวหางแพนสตาร์สด้วยตาเปล่าในช่วง 8-13 มีนาคม 2556

*เสนอในที่ประชุมสํานักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2556
** ราชบัณฑิต สํานักวิทยาศาสตร์
(1). วรเชษฐ์ บุญปลอด : คู่มือดูดาว พ.ศ. 2556 ในทางช้างเผือก สารสมาคมดาราศาสตร์ไทย ปี ที่ 31 ฉบับที่ 4 
ตุลาคม-ธันวาคม 2555 หน้า 48 


ดาวหางแพนสตาร์ส
T = 2013 Mar 10 ·16453
q = 0·3015430
e = 1· 000342
I = 84.2 °

Tags:

สื่อการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้

  • เตรียมพบกับหนังสือเรียนวิทย์ ม.ปลาย ซีรี่ส์ใหม่ได้เร็ว ๆ นี้ !!!

  • กล้องโทรทรรศน์

        เรื่องราวของกล้องโทรทรรศน์เริ่มต้นจากช่างทำแว่นตาชาวดัตช์ ชื่อ ฮันซ์ ลิเปอร์ฮาย (Hans Lippershy) หรือที่รู้จักกันในนาม ฮานส์ ลิพเพอร์ซี โดยในวันหนึ่งเขาได้สังเกตเด็กสองคนในร้านของเขาหยิบเลนส์สองชิ้นขึ้นมาอยู่ในแนวเดียวกันทำให้เขาสังเกตเห็นวัตถุใกล้เข้ามา  เมื่อเห็นดังนั้นเขาจึงได้ลองนำเลนส์สองชิ้นมาติดบนปลายท่อทั้งสองด้านเมื่อมองผ่านเข้าไปในท่อจะทำให้มองเห็นสิ่งของที่อยู่ไกลได้ราวกับสิ่งของนั้นเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ เขาจึงตั้งชื่อสิ่งประดิษฐ์นี้ว่า กล้องโทรทรรศน์ (Telescope)

ข่าว Update

  • การจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้านธรณีวิทยาในวิชา โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ

    การเรียนในห้องอาจจะเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ ไม่น่าสนใจสำหรับนักเรียน หรือแม้กระทั้งผู้ที่สนใจ ถ้ามีแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ จะสามารถกระตุ้นการเรียนรู้ได้อย่างไร สามารถติดตามได้ในบทความนี้เลยจ้า การจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้านธรณีวิทยาในวิชา โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ

  • กลุ่มฝนกับเรดาร์ตรวจอากาศ

    จะเตรียมพร้อมรับมือในสถาพอากาศที่มีความเสี่ยงฝนตกได้อย่างไร ติดตามได้ใน การตรวจอากาศจากเรดาร์

  • การวัดแนวระดับและมุมเทด้วย application บน smart phone

    การสํารวจภาคสนามเป็นส่วนสําคัญในการศึกษาวิชาธรณีวิทยา เป็นการศึกษาที่ใช้การสังเกตและ
    รวบรวมข้อมูลในพื้นที่มาวิเคราะห์และแปลความหมายออกมาในรูปแบบของการทําแผนที่ธรณีวิทยาแผนที่
    ธรณีวิทยาจะประกอบด้วยข้อมูลการปรากฏของหินอายุของหินรูปแบบการวางตัวของหิน และโครงสร้างทาง
    ธรณีวิทยาที่พบในการสํารวจภาคสนามมีอุปกรณ์ที่จําเป็นมากมาย เช่น ค้อนธรณี เข็มทิศ จีพีเอส สมุดบันทึก
    กล้องถ่ายรูป เครื่องเขียน และขวดกรดอุปกรณ์ทั้งหมดควรพกติดตัวตลอดเวลาเพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน