บทความ

  • เตรียมพบกับหนังสือเรียนวิทย์ ม.ปลาย ซีรี่ส์ใหม่ได้เร็ว ๆ นี้ !!!

  • กล้องโทรทรรศน์

        เรื่องราวของกล้องโทรทรรศน์เริ่มต้นจากช่างทำแว่นตาชาวดัตช์ ชื่อ ฮันซ์ ลิเปอร์ฮาย (Hans Lippershy) หรือที่รู้จักกันในนาม ฮานส์ ลิพเพอร์ซี โดยในวันหนึ่งเขาได้สังเกตเด็กสองคนในร้านของเขาหยิบเลนส์สองชิ้นขึ้นมาอยู่ในแนวเดียวกันทำให้เขาสังเกตเห็นวัตถุใกล้เข้ามา  เมื่อเห็นดังนั้นเขาจึงได้ลองนำเลนส์สองชิ้นมาติดบนปลายท่อทั้งสองด้านเมื่อมองผ่านเข้าไปในท่อจะทำให้มองเห็นสิ่งของที่อยู่ไกลได้ราวกับสิ่งของนั้นเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ เขาจึงตั้งชื่อสิ่งประดิษฐ์นี้ว่า กล้องโทรทรรศน์ (Telescope)

ก้าวไกลไปกับสื่อการเรียนการสอน สสวท.

เขียนโดย earthscience เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บรรยากาศ

ผู้เขียน: ฤทัย เพลงวัฒนา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.)  เน้นส่งเสริมให้โรงเรียนจัดการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมการทดลองต่างๆ โดยใช้สื่อการเรียนการสอนช่วยในการเสริมสร้างองค์ความรู้ ด้วยเหตุ นี้ สสวท. จึงพยายาม พัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก เพื่อให้สามารถนำไปใช้ ในโรงเรียนได้อย่างทั่วถึง และสามารถนำไปสำรวจตรวจสอบข้อมูลได้อย่างถูกต้อง 

ar1

ในปัจจุบัน การจัดการเรียนการสอนเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ  เป็นเรื่องที่หลายๆ คนให้ความสนใจ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องภาวะโลกร้อน สสวท. ได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน จึงได้ร่วมมือกับ รองศาสตราจารย์ วิชิต ศิริโชติ  ภาควิชาฟิสิกส์ประยุกต์  คณะวิทยาศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ  Dr.David R. Brooks จาก The Institute for Earth Science Research and Education พัฒนาอุปกรณ์ชุด Student Weather Station ขึ้น

 

ar2

อุปกรณ์ชุด Student Weather Station ออกแบบมาเพื่อใช้ในการศึกษาองค์ประกอบทางอุตุนิยมวิทยา ที่มีผลต่อสภาพอากาศ  ซึ่งสามารถนำข้อมูลมาใช้ ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน หรืองานวิจัยในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี 

อุปกรณ์ชุดนี้ มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ  Data logger ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้ต่อเนื่องด้วยระบบคอมพิวเตอร์  คุณสมบัติเด่นของอุปกรณ์ชุดนี้ คือ สามารถรับสัญญาณได้  6 ช่องระดับสัญญาณ 0–50 โวลต์   ความละเอียด 1 มิลลิโวลต์  โดย สสวท. ได้พัฒนาเซนเซอร์ ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อช่องรับสัญญาณดังกล่าว ประกอบด้วย เซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ  ปริมาณน้ำฝน  ความชื้นสัมพัทธ์  ความเข้มแสง ความเร็วลม และทิศทางลม  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไพรานอมิเตอร์ ซึ่งเป็นเซนเซอร์ ตรวจวัดความเข้มแสง  Dr. David R. Brooks  ได้พัฒนาให้มีราคาถูกกว่าท้องตลาดอย่างมาก ทำงานด้วยถ่านไฟฉายขนาด  AA สี่ก้อน  (อยู่ได้ ประมาณ 1 เดือน)  ไม่ต้องการ software พิเศษใด ๆ

สามารถถ่ายโอนข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยการใช้ตัวอ่านเมมโมรี่การ์ดแบบ USB ราคาถูก ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 1GB โดยจะบันทึกวัน เดือน ปี และเวลาทุกๆ ช่วงที่กำหนด เป็นไฟล์ excel จึงทำให้นักเรียนสามารถนำข้อมูลมาเขียนกราฟได้โดยใช้โปรแกรม chart wizard ใน excel เพื่อดูภาพรวมของข้อมูลทั้งหมด ดังตัวอย่าง

ตาราง 1  แสดงผลการเก็บข้อมูลความเข้มแสง

ar3

ปัจจุบัน ได้มีโรงเรียนนำอุปกรณ์ดังกล่าวไปทดลองใช้เพื่อให้นักเรียน ศึกษางานวิจัยระดับโรงเรียน ได้แก่

  • โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิ ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ ที่มี ผลต่อปริมาณน้ำฝน 
  • โรงเรียนเตรียมอุดม ศึกษา ความเข้มแสง ทีมีผลต่อความหนา ขนาด สี ใบ และขี้ผึ้งที่เคลือบใบหูกวาง  
  • โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ ข้าวต้มหลวง  จ.เชียงราย  ศึกษาความเข้มแสงที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของใบของต้นเลียบ
  • โรงเรียนบางแพวิทยา จ.ราชบุรี  ศึกษาปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ  และความชื้นสัมพัทธ์ ที่มีต่อการแพร่กระจายลูกน้ำยุงลาย

สสวท. มีความมุ่งหวังว่าอุปกรณ์ชุดนี้ จะสามารถสร้างประโยชน์ ไม่เฉพาะกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเท่านั้น แต่จะสามารถขยายผลไปสู่ท้องถิ่น เพื่อใช้ติดตามสภาพอากาศ ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตได้ ดังเช่น สถานีวิจัยในบรรยากาศ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ได้ประสานงานขออุปกรณ์ชุดดังกล่าวไปติดตั้ง เป็นต้น

สื่อการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้

  • เตรียมพบกับหนังสือเรียนวิทย์ ม.ปลาย ซีรี่ส์ใหม่ได้เร็ว ๆ นี้ !!!

  • กล้องโทรทรรศน์

        เรื่องราวของกล้องโทรทรรศน์เริ่มต้นจากช่างทำแว่นตาชาวดัตช์ ชื่อ ฮันซ์ ลิเปอร์ฮาย (Hans Lippershy) หรือที่รู้จักกันในนาม ฮานส์ ลิพเพอร์ซี โดยในวันหนึ่งเขาได้สังเกตเด็กสองคนในร้านของเขาหยิบเลนส์สองชิ้นขึ้นมาอยู่ในแนวเดียวกันทำให้เขาสังเกตเห็นวัตถุใกล้เข้ามา  เมื่อเห็นดังนั้นเขาจึงได้ลองนำเลนส์สองชิ้นมาติดบนปลายท่อทั้งสองด้านเมื่อมองผ่านเข้าไปในท่อจะทำให้มองเห็นสิ่งของที่อยู่ไกลได้ราวกับสิ่งของนั้นเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ เขาจึงตั้งชื่อสิ่งประดิษฐ์นี้ว่า กล้องโทรทรรศน์ (Telescope)

ข่าว Update

  • การจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้านธรณีวิทยาในวิชา โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ

    การเรียนในห้องอาจจะเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ ไม่น่าสนใจสำหรับนักเรียน หรือแม้กระทั้งผู้ที่สนใจ ถ้ามีแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ จะสามารถกระตุ้นการเรียนรู้ได้อย่างไร สามารถติดตามได้ในบทความนี้เลยจ้า การจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้านธรณีวิทยาในวิชา โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ

  • กลุ่มฝนกับเรดาร์ตรวจอากาศ

    จะเตรียมพร้อมรับมือในสถาพอากาศที่มีความเสี่ยงฝนตกได้อย่างไร ติดตามได้ใน การตรวจอากาศจากเรดาร์

  • การวัดแนวระดับและมุมเทด้วย application บน smart phone

    การสํารวจภาคสนามเป็นส่วนสําคัญในการศึกษาวิชาธรณีวิทยา เป็นการศึกษาที่ใช้การสังเกตและ
    รวบรวมข้อมูลในพื้นที่มาวิเคราะห์และแปลความหมายออกมาในรูปแบบของการทําแผนที่ธรณีวิทยาแผนที่
    ธรณีวิทยาจะประกอบด้วยข้อมูลการปรากฏของหินอายุของหินรูปแบบการวางตัวของหิน และโครงสร้างทาง
    ธรณีวิทยาที่พบในการสํารวจภาคสนามมีอุปกรณ์ที่จําเป็นมากมาย เช่น ค้อนธรณี เข็มทิศ จีพีเอส สมุดบันทึก
    กล้องถ่ายรูป เครื่องเขียน และขวดกรดอุปกรณ์ทั้งหมดควรพกติดตัวตลอดเวลาเพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน